ผลงานของเรา
ในปี 2557

ปฏิวัติพลังงาน

ยุติการทำลายป่า

ปกป้องทะเลและมหาสมุทร

สร้างอนาคตปลอดสารพิษ

สนับสนุนเกษตรกรรมเชิงนิเวศ

สร้างความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาค

ปี พ.ศ. 2557 เป็นอีกหนึ่งปีแห่งความสำเร็จของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขอขอบคุณทีมงาน สมาชิกของคณะกรรมการ อาสาสมัคร และผู้สนับสนุน ที่ร่วมกันทำให้สิ่งแวดล้อมก้าวเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขั้นและสร้างความแตกต่างในภูมิภาค

เลื่อนลง

กระตุ้นการปฏิวัติพลังงาน
โลกของเราไม่เคยต้องเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับรุนแรงเช่นนี้มาก่อน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่มีความเปราะบางต่อภัยภิบัติและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงทำงานอย่างไม่ย่อท้อเพื่อที่จะปูทางสู่การปฏิวัติพลังงาน ด้วยการต่อสู้ยุติยุคถ่านหินสกปรกอันเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เปิดโปงต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน
เราได้เน้นการทำงานด้านการวิจัย เพื่อที่จะเป็นข้อมูลยืนยันต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ได้รับรู้ข้อเท็จจริง “ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน” เป็นการศึกษาแรกที่มีในภูมิภาคที่ได้ค้นคว้าถึงต้นทุนภายนอก (externalities) ของถ่านหิน ในปี พ.ศ. 2557 เราได้เปิดเผยรายงาน “ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน” (True Cost of Coal) ในประเทศอินโดนีเซีย (2 ฉบับ) ฟิลิปปินส์ และไทย

กรีนพีซหวังว่ารายงานดังกล่าวจะใช้เป็นหลักฐานที่จะส่งผลให้เกิดข้อถกเถียงและเป็นแนวทางให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้นำอุตสาหกรรมนำมาใช้ในการกำหนดกรอบแผนร่างนโยบายด้านพลังงานของประเทศ
หยุดยั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ในปี พ.ศ. 2557 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถยับยั้งและชะลอแผนการโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ในอินโดนีเซียและไทย ซึ่งเราได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการลุกขึ้นมาต่อสู้กับโครงการถ่านหินที่ถูกนำเสนอในบาตัง ประเทศอินโดนีเซีย เราทำให้บริษัทที่รับผิดชอบไม่สามารถยื่นปิดงบประมาณการเงินได้ตรงตามเวลาและโครงการจึงต้องหยุดชะงักออกไป

ขณะที่กรีนพีซในไทยได้ขับเคลื่อนร่วมกับ 22 องค์กรที่จัดตั้งเป็น “เครือข่ายปกป้องกระบี่” ซึ่งทำงานรณรงค์ขับเคลื่อนภาคประชาชนและภาคการท่องเที่ยวเพื่อให้สนับสนุนในการปกป้องกระบี่ จังหวัดที่มีเอกลักษณ์ธรรมชาติที่งดงามไม่เหมือนที่ใด โดยมีนักกิจกรรมออนไลน์มากกว่า 50,000 ชื่อลงชื่อสนับสนุนการปกป้องความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพของกระบี่จากภัยคุกคามโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเรือขนส่งถ่านหิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำลังมีการประกาศต่ออายุพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล และในขณะเดียวกันคณะผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมได้ตีกลับรานงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอีกครั้ง โครงการถ่านหินกระบี่จึงต้องถูกเลื่อนออกไป
ขับเคลื่อนความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ
องค์การสหประชาชาติได้จัดอันดับฟิลิปปินส์ให้เป็นประเทศที่มีความเปราะบางต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูงสุดเป็นอันดับสามของโลก ฟิลิปปินส์จึงเป็นประเทศที่มีความเสี่ยง ทุกๆปี ประชาชนในประเทศต่างก็ต้องเผชิญกับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นที่กระหน่ำซัดในหลายพื้นที่ของประเทศ จนทำให้มีผู้คนสูญเสียชีวิตนับพัน คนไร้ที่อยู่อาศัยและต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน รวมถึงความเสียหายที่มีมูลค่ามหาศาลนับพันล้านเหรียญ ด้วยเหตุดังกล่าว กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ขับเคลื่อนรณรงค์ด้านความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศในปี พ.ศ.2557 โดยได้เปิดเผยตัวการก่อมลพิษรายใหญ่ของโลกที่เป็นต้นเหตุวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และเน้นย้ำว่าในขณะที่ฟิลิปปินส์กำลังปรับตัวรับมือและฟื้นฟูจากผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น เราจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างที่จะทำให้พายุไต้ฝุ่นไม่กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันที่ชนลูกหลานรุ่นต่อไปต้องรับสภาพ

เราได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนในการขับเคลื่อนผู้คนนับพันที่มีทั้งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผู้ที่ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด และชี้ถึงกลุ่มผู้เป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือผู้ก่อมลพิษรายใหญ่และรัฐบาลที่มีส่วนก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยเราได้เดินรณรงค์เป็นระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรเพื่อรณรงค์ด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ภายใต้ชื่อ “ก้าวย่างของประชาชนเพื่อความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศ” โดยเดินจากกิโลเมตรที่ศูนย์ถึงพื้นที่บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ทาคโลบันในวาระครบรอบหนึ่งปีของเหตุการณ์ภัยพิบัติ
ภารกิจช่วยเหลือฉุกเฉิน
เดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2557 ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติพายุไต้ฝุ่นระดับรุนแรง นั่นคือ ไต่ฝุ่นฮากูปิต (แปลว่าการ “หวดตี”) ทั้งนี้นายคูมิ ไนดู ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีซสากล ได้เดินทางมายังฟิลิปปินส์เพื่อช่วยเหลือ และเป็นกำลังใจให้กับชาวฟิลิปปินส์และเป็น “ประจักษ์พยาน” ถึงผลกระทบที่รุนแรงและส่งสาส์นถึงสังคมโลกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่ภัยคุกคามในอนาคตที่จะสามารถเจรจากันได้ แต่มันเป็นที่ประจักษ์แล้วถึงความอันตรายที่ต้องการการปฏิบัติยับยั้งโดยเร่งด่วน

นอกจากนี้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้ดำเนินภาระกิจช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ชุมชนในภาคตะวันออกของวิซายาสที่ถูกพายุไต้ฝุ่นฮากูปิตถล่มหนักที่สุด โดยเบื้องต้นเราได้แจกจ่ายระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กให้กับบ้านเรือนและศูนย์อพยพในแค็ทบาโลกันและเกาะบาเซาโอ ซามาร์ และ ทาฟ์ฟ และซามาร์ตะวันออก ตามด้วยการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืชให้กับชุมชนในโดโลเรสและซามาร์ตะวันออก ซึ่งเป็นภาระกิจร่วมกันกับกลุ่มเกษตรกรรมเชิงนิเวศ
ลดการตัดไม้ทำลายป่าให้เป็นศูนย์
ในปี พ.ศ. 2556 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นผู้นำและประสานงานการรณรงค์ด้านป่าไม้ทั่วโลก
พ.ศ. 2557 เป็นปีที่เข้มข้นในงานรณรงค์ระดับภูมิภาค ผลจากงานรณรงค์ที่นานกว่าสามปีสามารถผลักดันให้บริษัทระดับโลกจำนวน 5 บริษัทยอมดำเนินนโยบายลดการตัดไม้ทำลายป่าให้เป็นศูนย์ โดยมีสามบริษัทให้คำมั่นต่อสาธารณะ และอีกสองบริษัทได้ให้คำมั่นที่จะปฏิบัตินโยบายปกป้องป่าไม้
จุดเริ่มต้นแรกเกิดขึ้นเมื่อบริษัทวิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นนัล ซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันปาล์มใหญ่ที่สุดของโลกยอมให้คำมั่นที่จะดำเนินนโยบายไม่ตัดไม้ทำลายป่าในกิจการทั้งหมดรวมถึงบริษัทผู้จัดหาที่เกี่ยวข้อง บริษัทโกลเดนท์ อากรี-รีซอสส์ (GAR) ก็ได้ดำเนินนโยบายอนุรักษ์ป่าไม้ของตนที่ประกาศไว้โดยได้บังคับใช้แผนการนี้อย่างเคร่งครัดต่อบริษัทผู้จัดหาวัตถุดิบ บริษัทน้ำมันปาล์มยักษ์ใหญ่ทั้งห้าบริษัทในอินโดนีเซีย (โกลเดนท์ อากรี-รีซอสส์, วิลมาร์, คาร์กิวว์, เอเซียน อากรี, และมูซิม มาส) พร้อมด้วยหอการค้าอินโดนีเซีย (KADIN) ได้ร่วมกับลงนามในคำปฏิญาณน้ำมันปาล์มอินโดนีเซีย (IPOP) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียสนับสนุนการดำเนินปฏิบัตินโยบายยุติการตัดไม้ทำลายป่าตามกรอบนโยบายและกฏหมาย
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ประธานาธิบดี โจโก้ วิโดโด ตอบรับคำเชิญจากกรีนพีซและองค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่นในการไปเยือนเขตป่าพรุในจังหวัดเรียล ประธานาธิบดีได้ลงมือช่วยสร้างฝายกันน้ำ พร้อมกันนี้ได้มีความคิดทบทวนสัมปทานและปฎิญาณที่จะปกป้องป่าไม้อินโดนีเซียและระบบนิเวศพื้นที่ดินพรุ ซึ่งกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะบันทึกและติดตามคำสัญญาจากประธานาธิบดีต่อไป
ปกป้องมหาสมุทรของเรา
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางทรัพยากรทางทะเล แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งมีชีวิตภายใต้ท้องทะเลและมหาสมุทรของเรากำลังตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคาม
การเปลี่ยนแปลงนโยบายประเทศ
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ย่างก้าวถึงจุดสำเร็จที่สำคัญในการต่อสู่กับการประมงผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมในภูมิภาค (IUU)

ปีที่แล้ว สหภาพยุโรปได้ยื่นคำเตือนแก่รัฐบาลฟิลิปปินส์ โดยได้ออกใบเหลืองซึ่งเป็นระบบที่ใช้สำหรับเตือนประเทศที่ไม่ปฏิบัติในการต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฏหมาย (IUU) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาคีพันธมิตรได้ร่วมกันพูดคุยกับรัฐบาลให้มีการปรับปรุงกฏหมายประมงในส่วนที่ล้าหลังให้เข้มแข็งทันสมัยขึ้น โดยให้มีการควบคุมการประมงที่ผิดกฏหมายในฟิลิปปินส์ และรับรองสิทธิและสนับสนุนการทำประมงพื้นบ้านขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงเชิงพาณิชย์แบบทำลายล้างและผิดกฏหมาย

ในอินโดนีเซีย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถที่จะกดดันให้มีการจัดการกับการใช้เครื่องมือจับปลาประเภทอวนล้อมจับที่มีซั้งที่เป็นโครงสร้างถาวร (FADs) ซึ่งอินโดนีเซียมีเจตจำนงค์ด้านนโยบายที่ชัดเจนในการที่จะบริหารจัดการการประมงผ่านการปฏิรูปนโยบายและบังคับใช้กฏหมาย โดยมุ่งที่จะลดการจับปลาโดยใช้อุปกรณ์อวนล้อมจับในทะเล งดการให้อาชญาบัตรใหม่แก่เรือต่างชาติ และบริหารจัดการการขนถ่ายปลากลางทะเลซึ่งเป็นช่องทางสู่ปัญหามากมาย เช่น การทำปลาผิดกฏหมายให้ถูกกฏหมาย การละเมิดสิทธิชุมชน และการเพิ่มขึ้นของการล่าหูฉลาม
การสร้างกลุ่มรักษ์ทะเล
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้จัดการประชุมว่าด้วยฉลามเป็นครั้งแรกในฟิลิปปินส์ โดยได้เชิญตัวแทนจากภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และนักดำน้ำ ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดการผลักดันการครอบครอง จับ และค้าขายฉลาม รวมถึงการมีโรงแรมจำนวนมากในเกาะเซบูได้นำหูฉลามออกจากเมนูอาหารในโรงแรม

ด้วยความร่วมมือกันกับพันธมิตรผ่านการรวบรวมรายชื่อสนับสนุนออนไลน์ เราสามารถผลักดันให้สายการบินแห่งชาติฟิลิปปินส์และเซบู แปซิฟิก ยอมที่จะปฏิเสธการขนส่งหูฉลามและสินค้าจากฉลามผ่านการบินของตน และเราก็ได้เรียกร้องเช่นกันผ่านไปยังสายการบินไทย และการูด้า ของอินโดนีเซีย ซึ่งก็ได้รับการตอบรับตกลงเช่นกัน

ในไทย กรีนพีซได้ร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนประมงพื้นบ้าน และทำงานกับเครือข่ายผู้บริโภคในการสร้างความตระหนักถึงปัญหาการประมงทำลายล้างในอ่าวไทย และร่วมจัดมหกรรมรวมพลคนกินปลาที่กรุงเทพฯ ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารทะเลที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัย
ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของภูมิภาค
ในการที่จะผลักดันประเด็นสู่การประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทะเล (UNCLOS) ที่จะมีขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้จัดเสวนาในระดับภูมิภาคเรื่อง “ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเหนือขอบเขตอำนาจกฏหมายของประเทศ (Biodiversity Beyond National Jurisdiction: BBNJ)” โดยมีนักเจรจา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปในประเด็นเรื่องของการอนุรักษ์และความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่ไกลออกจากขอบเขตอำนาจกฏหมายของประเทศที่จะดูแล
สร้างอนาคตปลอดสารพิษ
โครงการรณรงค์ล้างสารพิษ (Detox Campaign) เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้แบรนด์ผลิตเสื้อผ้ายุติการใช้สารเคมีอันตรายในห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์ของตนภายใน พ.ศ. 2563 และผลักดันให้รัฐบาลต้องให้คำมั่นที่จะลดการปลดปล่อยมลพิษให้ได้เหลือศูนย์ภายในหนึ่งชั่วอายุคน
ด้วยแรงกดดันจากผู้บริโภคทั่วโลก ปัจจุบันมี 30 แบรนด์เสื้อผ้าได้ให้คำมั่นล้างสารพิษแล้ว ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ มี 18 แบรนด์แฟชั่นซึ่งคลอบคลุมถึงร้อยละ 10 ของตลาดในอุตสาหกรรมค้าปลีกเสื้อผ้าได้ตกลงที่จะยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย ซึ่งหมายถึงเป็นความสำเร็จที่เป็นนัยสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของโลก

ปี พ.ศ. 2556 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมเผยแพร่รายงาน “ปิศาจในตู้เสื้อผ้า” ที่มุ่งสร้างความตระหนักแก่กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้เป็นแม่ โดยรายงานได้เปิดเผยถึงสารเคมีอันตรายที่พบในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเด็กและรองเท้าของแบรนด์ดิสนี่ เบอร์เบอร์รี่ และอาดิดาส และแบรนด์เบอร์เบอร์รี่ก็ได้ยอมที่จะประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายในห่วงโซ่การผลิตภายให้ได้ภายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563

ในเดือน พฤษภาคม ในช่วงเวลาเดียวกันกับฟุตบอลโลก กรีนพีซได้ท้าทายให้แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาเช่น อาดิดาส ในการเร่งปฏิบัติตามคำสัญญาล้างสารพิษที่จะยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายในห่วงโซ่การผลิตที่ก่อมลพิษสู่แหล่งน้ำ

กรีนพีซได้ใช้แอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ลา-โอลาเวฟ ที่เชิญชวนแฟนกีฬามาร่วมกดดันอาดิดาสให้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดในการล้างสารพิษ และ ลา-โอลาเวฟก็ได้สร้างความสำเร็จอย่างรวดเร็วโดยเพียงสองสัปดาห์ อาดิดาสก็ได้เป็นแบรนด์แรกที่ประกาศแผนงานล้างสารพิษต่อสาธารณชนหลังจากการรณรงค์ และประกาศมั่นที่จะยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่การผลิต เป็นการทำแต้มอย่างสวยงามให้แก่โลก ของเรา
สนับสนุนเกษตรกรรมเชิงนิเวศ
แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์และภูมิปัญญาในการทำเกษตรกรรมที่มีความหลากหลายได้เป็นมรดกตกทอดที่สืบมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเก็บรักษารักษาไว้
ภาคการเกษตรมีความสำคัญในการผลิตสินค้าและบริการ สร้างอาหารและความมั่นคงในการยังชีพของชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การทำเกษตรโดยใช้สารเคมีและการเคลื่อนการผลิตสู่ระบบสินค้าป้อนสู่ตลาดและการผลิตเชิงอุตสาหกรรม (ดังเช่นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว พืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จี เอ็ม โอ การใช้ปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืช) เหล่านี้ ได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การทำเกษตร ระบบนิเวศ มกดกทางวัฒนธรรม และพื้นฐานเศษรฐกิจ การที่ภาคเกษตรกรรมของภูมิภาคกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด เราจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องก้าวสู่ระบบทำเกษตรกรรมที่มีความยืดหยุ่นดังเช่นเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่จะสร้างความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ

ในปี พ.ศ. 2557 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มขยายงานรณรงค์จากเพียงการหยุดจีเอ็มโอไปยังประเด็นที่กว้างคลอบคลุมมากขึ้น คือ อาหาร-การเกษตร-ธาตุอาหาร-สิ่งแวดล้อม-การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ล้วนมีความเชื่อมต่อกัน โดยได้นำเสนอเกษตรกรรมเชิงนิเวศเป็นวิธีการทำเกษตรทางรอดที่จะทำให้พ้นจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพร้อมกันกับมีความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ และยังคงทำงานต่อต้านจีเอ็มโออย่างต่อเนื่องที่เป็นอุปสรรคคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ

กรีนพีซได้เผยแพร่รายงาน การคัดเลือกพันธุ์แบบใช้เครื่องหมาย (Marker Assisted Selection หรือ MAS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชีวภาพรูปแบบหนึ่งเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความหลากหลายโดยไม่มีความเสี่ยงดังเช่นวิธีพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้สามารถสร้างผลงานที่สำคัญมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเกษตรกรผู้ทำไร่ทำสวน ซึ่งสามารถต่อกรได้กับความท้าทายมากมายเช่น การทนต่อโรค และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้กิจกรรมรณรงค์นี้สามารถระดมผู้คนร่วมลงรายชื่อสนับสนุนถึง 25,000 คนในการเรียกร้องต่อกรมวิชาการเกษตรของฟิลิปปินส์ที่สนับสนุนข้าวดัดแปลงพันธุกรรรมสีทอง (Golden GE rice) ให้หันมาทบทวนและหันมาสนับสนุนและลงทุนในเกษตรกรรมเชิงนิเวศแทน

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 สองสัปดาห์หลังจากพายุไต้ฝุ่นฮากูปิตได้ทำลายพื้นที่การเกษตรในโดโลเรสและซามาร์ตะวันออก กรีนพีซได้ร่วมกับเกษตรกรได้ร่วมกันแบ่งบันเมล็ดพันธุ์ข้าวและผักอินทรีย์ รวมถึงปุ๋ยอินทรีย์ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในโดโลเรส
สร้างความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
งานรณรงค์ อินโดนีเซียเต็มร้อย
กรีนพีซ อินโดนีเซียได้เปิดโครงการรณรงค์ชื่อ อินโดนีเซียเต็มร้อย (100% Indonesia) เพื่อสร้างความตระหนักต่อผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีให้รับรู้ใส่ใจและให้คำมั่นต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีนัยสำคัญของประเด็นสิ่งแวดล้อมระดับโลก จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ประธานาธิบดีควรมีความปรารถนาที่จะแก้ไขประเด็นสิ่งแวดล้อมในลำดับต้น

เดิมทีนั้นประเด็นหลักที่ถูกยกนำมาพูดคุยกันในช่วงเลือกตั้งหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ในปี พ.ศ. 2557 นั้น ประเด็นสิ่งแวดล้อมได้ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับต้นในการถกเถียง ซึ่งข่าวรายงานการรณรงค์ของกรีนพีซได้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมได้มาก และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสองคนก็ได้ประกาศคำมั่นสัญญาอย่างชัดเจนที่จะปกป้องสิ่งแวดล้อมเมื่อได้รับตำแหน่ง

หลังจากการเลือกตั้ง งานรณรงค์อินโดนีเซียเต็มร้อยได้ผลักดันให้กรีนพีซเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญด้านประเด็นสิ่งแวดล้อมสำหรับรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยกระทรวงป่าไม้และสิ่งแวดล้อม สำนักประธานาธิบดี และรัฐสภาได้เชิญผู้เชี่ยวชาญของกรีนพีซไปมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย วางแผน และมาตรการทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
พัฒนาการของกรีนพีซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทอย่างมากในโลกและมีเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย ในขณะเดียวกันเราก็เป็นพื้นที่แห่งหนึ่งของโลกที่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงแห่งหนึ่งของโลก

ในปี พ.ศ. 2557 ภายใต้การทำงานอย่างหนักในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย กรีนพีซ เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ยังได้เริ่มขยายงานไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏออกมามีดังนี้:
  • มีการส่ง e-mail ถึงผู้สนับสนุนและผู้บริจาคในอัตรามากขึ้นร้อยละ 40 และมีการเติบโตของฐานสนับสนุนในสังคมออนไลน์ในอัตราร้อยละ 20 จากการรณรงค์ด้านป่าไม้ สภาพภูมิอากาศและพลังงาน และปกป้องอาร์กติก
  • มีการริเริ่มสังคมออนไลน์ในมาเลเซีย เมียนมาร์ สิงคโปร์ และแม่โขงตอนล่าง
  • มีอาสาสมัครมากกว่า 100 คนที่มาร่วมงานรณรงค์กับเราจากมาเลเซีย เมียนมาร์ กัมพูชาและสิงคโปร์
  • เริ่มมีกิจกรรมต่อเนื่องในมาเลเซีย เช่น การชมภาพยนตร์ จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยน และปฐมนิเทศอาสาสมัคร
  • มีกิจกรรมสร้างความร่วมมือในมาเลเซีย เมียนมาร์ และสิงคโปร์ ซึ่งได้เป็นการสร้างเครือข่ายการติดต่อขององค์กรต่างๆ ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • นำเสนอรายงาน “หยุดบริษัท ไลนาส” โดยมีการเผยแพร่สื่อมวลชนและจัดทำรายงานภายในและรายงานขอบเขตการศึกษา