ชีวิตริมคลองสำโรงกับมลพิษทางน้ำ
 
คลิกเพื่อดู VDO - ชีวิตริมคลองสำโรงกับมลพิษทางน้ำ
  ติดตาม Water Journal ทั้งหมด คลิกที่นี่
  xxx
  หน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำของกรีนพีซมอบตะกอนดินปนเปื้อนสารพิษที่ เก็บจากคลองสำโรงให้แก่กรมควบคุมมลพิษ เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนถึงปัญหาและความล้มเหลวของกรมควบคุมมลพิษในการปก ป้องแหล่งน้ำของประเทศ
 

17 สิงหาคม 2553
สมุทรปราการ, ประเทศไทย - หน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำของกรีนพีซสวมชุดป้องกันสารพิษมอบตะกอนดินปนเปื้อนสารพิษที่เก็บจากคลองสำโรงให้แก่กรมควบคุมมลพิษ เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนถึงปัญหาและความล้มเหลวของกรมควบคุมมลพิษในการปกป้องแหล่งน้ำของประเทศ โดยเรียกร้องให้เร่งนำระบบรายงานข้อมูลการปลดปล่อยมลพิษมาใช้ รวมถึงตั้งเป้าหมาย “มลพิษเหลือศูนย์” เพื่อลดการปล่อยสารเคมีในน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง


  อ่านรายละเอียด
ข้อเรียกร้องของกรีนพีซ
ในการที่จะบรรลุถึง "การปฏิวัติเพื่อการผลิตที่สะอาด" ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะรักษาแหล่งน้ำของประเทศไทย กรีนพีซเสนอข้อเรียกร้องต่อภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ปล่อยมลพิษอันตรายลงสู่แหล่งน้ำ และรัฐบาลในฐานะเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมและกำหนดทิศทางการจัดการกับมลพิษทางน้ำของประเทศให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนดังต่อไปนี้


รายงานการตรวจสอบสารเคมีอันตรายในน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมสองแห่ง และการปนเปื้อนของสารเคมีในคลองบริเวณใกล้เคียงซึ่งเชื่อมต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ประเทศไทย พ.ศ. 2553
ดาวน์โหลดไฟล์ PDF (516Kb)

Right to know สิทธิ์ของคุณ

ประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วได้นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า Pollutant Release and Transfer Register: PRTR หรือ "ทำเนียบการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม"มาประยุกต์ใช้เป็นกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งมีประโยชน์ต่อ ประชาชน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลการปล่อยมลพิษ เป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหามลพิษ ...

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม คลิกที่นี่